Key of Globalization in term of Business

The White Scarf

Key of Globalization in term of Business

Global Business Environment

    The Global Business Environment is the external and internal factors that affect the way business in conducted across the world. These factors can include economic, political, social, technological, legal and environment conditions. Understanding the Global Business Environment is critical for companies that want to expand internationally or do business with companies from other countries.
    One of the main factors that affect the global business environment is the economic condition of countries. The growth of a country's economy can provide opportunities for businesses to expand their markets and increase their revenues. However, economic conditions can also pose risks for businesses, such as inflation, currency fluctuations, and trade restrictions. Companies that operate in the global market must be able to adapt to these conditions and create strategies to mitigate any risks that may arise.
     Another important factor in the global business environment is political stability. The political situation in a country can impact the business environment, affecting factors such as regulations, taxes, and trade agreements. Companies must be aware of any political changes in the countries where they do business to make informed decisions and adapt to new conditions.
Social and cultural factors also play a significant role in the global business environment. Companies must understand the cultural differences between countries to create products and marketing strategies that are appropriate for each market. In addition, social trends and values can influence the demand for certain products or services, so businesses must be aware of these trends to stay competitive.
- Technological advancements are another factor that affects the global business environment. New technologies can create opportunities for businesses to innovate and create new products or services, but they can also pose threats to established industries. Companies must be able to adapt to new technologies to stay competitive and take advantage of any new opportunities that arise.
Legal and regulatory frameworks are also important considerations for companies that operate in the global business environment. Laws and regulations vary from country to country, and companies must comply with these regulations to avoid legal issues and protect their reputation. In addition, companies must consider environmental factors such as sustainability and climate change to create sustainable business practices that are in line with global standards.
    In conclusion, the global business environment is complex and constantly evolving. Businesses that want to succeed in the global market must be able to adapt to changes in economic, political, social, technological, legal, and environmental factors. By understanding the global business environment and creating strategies that take these factors into account, companies can increase their chances of success and achieve their business goals.

Key Management Ideas

สำรวจโลกทางธุรกิจ
      การจัดการและธุรกิจมีความเป็นนานาชาติมากกว่าที่เคยเป็นมา ในยุคทศวรรษที่ 90 เราได้เห็นการเกิดขึ้นขององค์กรระดับโลกอย่างแท้จริง ปัจจุบันนี้มีบริษัทแม่ประมาณ 37,000 บริษัท ที่ควบคุมการดำเนินงานของบริษัทสาขาและบริษัทในเครือทั่วโลกกว่า 200,000 แห่ง สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทขนาดใหญ่ที่สุด 100 ราย ของโลกมี 40% ของสินทรัพย์ อยู่ในประเทศอื่นนอกประเทศมาตุภูมิของตน ในปี ค.ศ.1991 สหประชาชาติประมาณการว่ายอดขายของบรรษัทข้ามชาติเหล่านี้มีมูลค่า 1ใน4 ของค่า GDP ทั้งโลก (และถ้าดูจากยอดขายของภาคเอกชน อัตราส่วนจะสูงกว่านี้) ซึ่งยอดขายรวมของบริษัทระหว่างประเทศเหล่านี้ ในปี ค.ศ.1991 ประมาณการกันว่่ามีถึง 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
      เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2022 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) รายงานว่า การค้าทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ($28.5 trillion) ในปี ค.ศ.2021 แต่มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงในปี ค.ศ.2022 ซึ่งเศรษฐกิจโลกโดยรวมทั้งการนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในไตรมาสที่สี่ของปี ค.ศ.2021 โดยมีการเพิ่มขึ้นของค้าสินค้าในประเทศกำลังพัฒนา (the develop countries) มากกว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว (developed countries)
Source: UNCTAD calculations based on national statistics. 
Note: Quarterly growth is the quarter over quarter growth rate of seasonally adjusted values. Annual growth refers to the last four quarters. Figures for Q4 2021 are preliminary. Q1 2022 is a nowcast.

      กระแสโลกาภิวัฒน์กำลังแพร่หลายไปทั่วโลก แม้แต่องค์กรที่ไม่ได้ดำเนินงานในระดับโลกก็ยังได้รับผลกระทบด้วย ปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นกว่าในอดีต จากคู่แข่งจำนวนมากที่จำหน่ายสินค้าในตลาดต่างๆ ซึ่งมีความได้เปรียบเหนือผู้บริหารท้องถิ่นตรงที่มีความสามารถใช้แนวความคิดต่างๆ และประสบการณ์ใหม่ๆ จากตลาดอื่น
      Laura Mazur และ Annik Hogg ผู้แต่งหนังสือ The Marketing Challenge (The Economist Intelligence Unit) ระบุว่า "ถึงอย่างไรการตลาดก็คือทุกสิ่งที่เกี่ยวกับแนวความคิดดีๆ และคุณไม่ควรเริ่มต้นคิดใหม่โดยเริ่มนับหนึ่งตลอดเวลา" องค์กรระดับชาติมีแนวโน้มที่จะต้องต่อสู้กับภัยคุกคามเชิงการแข่งขันจากบรรดาบริษัทที่จัดระบบการดำเนินงานธุรกิจในระดับโลก

Driving Factors of Globalization

ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่นโลกาภิวัฒน์
พลังที่ทำให้โลกาภิวัฒน์แพร่หลายมีหลายประการ ได้แก่

1. เทคโลโนยี (Technology) 
      Theodore Levitt อดีตศาสตราจารย์แห่ง Harvard Business School ผู้ให้เครดิตกับคำว่า "โลกาภิวัตน์" และสนับสนุนบทบาทที่ประเมินค่าต่ำของการตลาดในการกำหนดว่าธุรกิจควรทำและขายอะไร ระบุว่า เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่มีพลังมากที่สุดในการทำให้สภาพการณ์ทางธุรกิจมีความคล้ายคลึงกัน เทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนที่ชัดเจนของโลกาภิวัฒน์ในตลาดต่างๆ เช่น ตลาดเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ในยุคทศวรรษที่ 80 บริษัท Uniliver เปิดเผยข้อมูลว่า เครื่องสำอางเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต บริษัทตอกย้ำความเชื่อนี้ด้วยการลงทุนซื้อกิจการของ บริษัท Elizabeth Arden มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, ซื้อกิจการ บริษัท Chesebrough-Pond และ บริษัท Calvin Klein มูลค่า 306 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากนั้น บริษัท P&G ได้ดำเนินรอยตามโดยซื้อกิจการของ บริษัท Max Factor ในขณะที่ บริษัท Uniliver เรียนรู้ว่าตราสินค้าของเครื่องสำอางแตกต่างจากสบู่และแป้ง บริษัท Uniliver จึงจัดระบบการกระจายสินค้าใหม่ โดยให้มีศูยน์กระจายสินค้าผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า Elizabeth Arden เพียงแผ่งเดียวในยุโรป แทนที่จะมีถึง 12 แห่ง และมีแห่งผลิตสินค้าของบริษัทอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และโรงงานขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่งในทวีปยุโรป ทั้งนี้ ได้กำหนดเงื่อนไขภาพรวมของบริษัทสาขาและบริษัทในเครือว่า โครงสร้างระดับโลกของบริษัทต้องสอดคล้องกับคุณลักษณ์ระดับโลกของตราสินค้า
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------**
"Additional information"
        ⭐  Theodore Levitt, a former professor at the Harvard Business School credited with coining the term "globalization" and with championing the undervalued role of marketing in defining what businesses should make and sell, died June 28 at his home in Belmont, Mass. He was 81.
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

2. การลดต้นทุน (Cost Reduction)
      ในมุมมองของบริษัท โลกาภิวัฒน์มีความหมายเหมือนกับการใช้แนวทางที่สมเหตุสมผล (rationalization) ส่วนการประหยัดเชิงขนาด หมายความว่า จะต้องมีการเลิกจ้างงานเกิดขึ้น บริษัทที่มีตราสินค้าดังๆ อยู่ในมือจำนวนได้ตรวจสอบต้นทุนในการดำเนินงานและโปรโมตตราสินค้าเหล่านี้อย่างใกล้ชิด ถ้าตราสินค้าใดต้องใช้ต้นทุนสำหรับการโปรโมตเท่ากับ A ดอลลาร์สหรัฐฯ หากบริษัทมีตราสินค้า 10 แบรนด์ ก็จะต้องใช้เงินทุน 10 x A ดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น หลักแห่งความสมเหตุสมผล (Rationality) จะนำเอาตราสินค้าทั้ง 10 แบรนด์ มารวมอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทใหญ่ ภายมต้ชื่อตราสินค้าเดียว แล้วรวมค่าใช้จ่ายทางการตลาดแบบรวมศูนย์ไว้ที่บริษัทนั้นแห่งเดียว

3. การเกิดตลาดที่มีความคล้ายคลึงกัน (Emergence of the Market)
      การเพิ่มขึ้นของการเดินทางระหว่างประเทศและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ทำให้ตลาดธุรกิจมีลักษณะคล้ายคลึงกันยิ่งกว่าที่ผ่านมา นิสัยในการใช้จ่ายและการบริโภคของผู้คนจะมีลักษณะร่วมที่คล้ายคลึงกันไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใดก็ตาม เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะตลาดที่เหมือนกันย่อมนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพพอๆ กัน
      มีมุมมองความคิดว่า โลกาภิวัฒน์ช่วยให้เกิดความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ตลอดจนการหยัดต้นทุน บริษัทระดับโลกต้องทำตัวให้สอดคล้องและใกล้ชิดกับตลาดของตนทุกแห่งไม่ว่าจะตั้งอยู่ในประเทศใด
      Bruce McKern นักวิชาการ นักวิจัยและที่ปรึกษาองค์กรด้านนวัตกรรม กลยุทธ์ และธุรกิจระหว่างประเทศ ระบุว่า "บริษัทต่างๆ ประเมินตลาดต่างประเทศเพื่อการลงทุนในมิติของความน่าลงทุน โดยมีการปรับค่าความเสี่ยงโดยมุ่งให้เป็นตลาด สินค้า หรือ บริการ ของบริษัทเป็นแห่งทรัพยากร เช่น แหล่งแรงงาน วัตถุดิบ หรือ ศูนย์กลางการปฏิบัติการ ที่สมเหตุสมผลของบริษัทในระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนบริษัทไปสู่การสร้างประสิทธิภาพระดับโลก"

⬤  ความน่าสนใจของการจัดระบบกิจกรรมการทำงานของบริษัทในระดับโลก เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ ดังนี้
      1. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) หากมีการจัดการระบบการวิจัยและพัฒนาในระดับโลกและมุ่งสู่การตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากความร่วมมือซึ่งกันและกัน
  2. การจัดซื้อ (Purchasing) การจัดซื้อวัตถุดิบในระดับโลกทำให้บริษัทต่างๆ ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตลาดวัตถุดิบของตนได้อย่างรวดเร็ว สามารถสอบสนองความต้องการของลูกค้าและใช้อำนาจซื้อของตนได้อย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เช่น ใช้อัตราซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนเงินตราให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเจรจาซื้อ-ขาย
     3. การผลิต (Production) หากมีการจัดระบบการผลิตในระดับโลกก็จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น และทำให้เกิดความประหยัดเชิงขนาดการผลิต ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าในราคาต่อหน่วยที่สมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งลดต้นทุนการผลิตด้วย
     4. การตลาด (Marketing) ในทางทฤษฎี การตลาดระดับโลกจะเปิดโอกาสให้บริษัทใช้สื่อระดับโลกในราคาที่สมเหตุสมผล ประหยัดต้นทุน และค่าใช้จ่าย โดยขจัดงานที่ซ้ำซ้อนกัน ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ได้ง่ายขึ้น
      5. การกระจายสินค้า (Distribution) เมื่อระบบต่างๆ มุ่งที่การให้บริหารในตลาดระดับโลก สินค้าและบริการของบริษัทควรมีความพร้อมทั้งคุณภาพและปริมาณ เพื่อการจำหน่ายทั่วโลก นอกจากนี้ ควรปรับปรุงบริการหลังการขายที่ครอบคลุมระดับโลกเพื่อลดระยะเวลาการรอคอยของลูกค้า และการรอคอยอะไหล่ อีกทั้ง ควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

⬤  มีการเสนอแนวความคิดที่น่าเชื่อถือหลายประการชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบของโลกาภิวัฒน์ แต่กระบวนการดังกล่าวได้มีข้อโตแย้ง และเป็นจุดกำเนิดปัญหาที่ยากจะจัดการให้แก่องค์กรต่างๆ ได้ โลกาภิวัฒน์ยังคงเป็นที่พูดถึงจนปัจจุบัน และยังคงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจหรืออธิบายได้อย่างตรงไปตรงมา ด้าน Akio Morita อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท SONY ระบุว่า "สิ่งที่คุณต้องการคือสินค้าที่มีคุณภาพเยี่ยมที่สุดในโลก การผลิตที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก และการตลาดระดับโลก ส่วนอื่นที่เหลือก็จะดีไปเอง ความซับซ้อนของเรื่องนี้มีอยู่เพียงเท่านี้"

⬤  ความซับซ้อนที่สังเกตได้บ่อยที่สุด คือ การตอบสนองทั้งระดับโลกและระดับพื้นที่ โดยองค์กรระดับโลกมีความเสี่ยงส฿งที่จะสูญเสียเอกลักษณ์ในระดับพื้นที่ (Local Identity) ไป ผู้บริโภคทั่วไปจะรู้สึกมั่นใจในบริษัทที่มีที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่น มีผลิตภัณธ์ที่สามารถตอบสนองรสนิยมของคนในพื้นที่เป็นการเฉพาะ ขณะเดียวกัน ลูกค้ายังคงมีความต้องการสินค้าที่หลากหลายและมีหลายระดับราคาให้เลือกซื้อหา ลูกค้าต้องการสิ่งที่ดีที่สุดมาตอบสนองรสนิยมระดับพื้นที่และมีคุณภาพระดับโลก บริษัทต่างๆ จึงต้องพบกับความท้าทายที่มีลักษณะขัดแย้งกันเองที่ต้องตอบสนองทั้งระดับพื้นที่และระดับโลกไปพร้อมกัน คำตอบจึงอยู่ที่ การวิวัฒนาตามโลกและพื้นที่ (Glocalization) ซึ่งมาจาก Globalization และ Localization เป็นความสามารถในการแสวงหาผลประโยชน์จากการผลิตระดับโลก การใช้เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และความสามารถในการใช้ทรัพยากรทางการตลาด ขณะเดียวกันก็สามารถตอบสนองความต้องการในระดับพื้นที่ได้ด้วย

⬤  Percy Barnevik ชาวสวีเดน อดีต CEO ของ ABB หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงจำนวนไม่กี่คนที่เผชิญกับความท้าทายนี้ ระบุว่า การตอบสนองทั้งระดับพื้นที่และระดับโลกเป็นเรื่องยากและมีความเสี่ยงทางการค้าเป็นอย่างมาก กล่าวว่า "คุณต้องการผลประโยชน์มากที่สุดจากธุรกิจระดับโลก โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การผลิตชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ก่อให้เกิดการประหยัดเชิงขนาด การผลิตสินค้าจำนวนมากจนทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำลง การโยกย้ายแรงงานและผู้บริหารไปยังสาขาต่างๆ เพื่อแบ่งปันความชำนาญและช่วยแก้ปัญหา นอกจากนี้ คุณยังต้องการให้ธุรกิจของคุณหยั่งรากลึกในทุกท้องถิ่นที่เข้าไปทำธุรกิจ โดยการผลิตสินค้าในประเทศต่างๆ และขายสินค้าในประเทศเหล่านั้น คุณต้องสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถที่สุดของท้องถิ่นจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และทำงานร่วมกันรัฐบาลในประเทศนั้นๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งออก หากคุณสามารถสร้างองค์กรแบบนี้ขึ้นมาได้ ถือว่าคุณได้สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจที่ลอกเลียนแบบได้ยากมาก"

Driving forces of the Globalization

Driving forces of the Globalization

The media and almost every book on globalization and international business speak about different drivers of globalization and they can basically be separated into five different groups:

  1. Market drivers As domestic markets become more and more saturated, the opportunities for growth are limited and global expanding is a way most organizations choose to overcome this situation. Common customer needs and the opportunity to use global marketing channels and transfer marketing to some extent are also incentives to choose internationalization. (Ferrier, 2004)

  2. Cost driversSourcing efficiency and costs vary from country to country and global firms can take advantage of this fact. Other cost drivers to globalization are the opportunity to build global scale economies and the high product development costs nowadays. (Ferrier, 2004)

  3. Government driversLiberalized trading rules and deregulated markets lead to lowered tariffs and allowed foreign direct investment (FDI) in almost all over the world. The institution of GATT (General Agreement on Tariffs and Trade) 1947 and the WTO (World Trade Organization) 1995 as well as the ongoing opening and privatization in Eastern Europe are only some examples of latest developments.

  4. Competitive divers; With the global market, global inter-firm competition increases and organizations are forced to “play” international. Strong interdependences among countries and high two-way trades and FDI actions also support this driver.

  5. Other divers;
    • Technological drivers: Technology shaped and set the foundation for modern globalization. Innovations in the transportation technology revolutionized the industry. The most important developments among these are the commercial jet aircraft and the concept of Containerization in the late 1970s and 1980s. Inventions in the area of microprocessors and telecommunications enabled highly effective computing and communication at a low-cost level. Finally the rapid growth of the Internet is the latest technological driver that created global e-business and e-commerce.
    • Treasury management plays an important role in a corporation’s globalization efforts especially in the areas of cash management, banking, foreign exchange risk, and investments. Treasury must address challenges with managing liquidity distributed across markets, currencies, and businesses, especially the need to keep up with regional liquidity nuances and regulatory issues. 
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------**
"Additional information"
        ⭐  Key Takeaways: As an outgrowth of globalization, four key external forces impact opportunities and challenges for corporate growth and expansion: economic uncertainty, geopolitical climate, regulatory environment, and technology evolution.
  • In its just-completed fiscal year 2022 (FY22), the World Bank Group responded with unprecedented scale to overlapping global crises, providing advice and financing in response to the sharpest economic slowdown in eight decades, rising inflation, deepening food insecurity, war and fragility, and the continued negative impact of the COVID-19 pandemic.
  • There are numerous examples of geopolitical events exacerbating volatility, uncertainty, and risks arising from the increasing interconnectedness of regions caused by globalization. New regulations impact treasury organizations in many ways, including in-house banking, intercompany transactions, and transfer pricing documentation.
  • Corporate treasury organizations continue to lean on technology to facilitate change and mitigate complexity arising from global expansion. Cloud-based treasury management systems (TMS) provide an opportunity to implement specific modules on a subscription pricing basis. Governmental agencies, banks, and fintechs are collaborating to evolve complex corporate treasury services.
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

Strategy in International Business

กลยุทธ์การดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศ
   องค์การธุรกิจที่ดำเนินงานระหว่างประเทศ สามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของสภาพแวดล้อมในตลาดต่างประเทศเป็นแหล่งที่มาของข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่สร้างความแตกต่างจากธุรกิจที่ดำเนินงานในประเทศ ดังนี้
      1. ด้านทำเลที่ตั้ง (Location Economies) ในการเสริมประสิทธิภาพของผลประกอบการที่ดีกว่า โดยการใช้ประโยชน์จากการเลือกแหล่งทำธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำกว่า เช่น บริษัทเลือกตั้งโรงงานในประเทศที่มีต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต และแรงงานที่ถูกกว่า เป็นต้น นอกจากนี้ การกระจายแหล่งการผลิตไปยังประเทศต่างๆ ยังช่วยลดความเสี่ยงหากพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเผชิญภัยคุกคาม
      2. การประหยัดเชิงขนาด (Economy of Scale) สามารถสร้างข้อได้เปรียบการจัดซื้อวัตถุดิบในราคาถูกลงโดยประโยชน์จากได้ส่วนลดเชิงปริมาณจากการซื้อวัตถุดิบจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจสามารถกระจายต้นทุนคงที่ซึ่งมีผลให้ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าลดลง และสามารถเสนอขายสินค้าในราคาต่ำที่ยังคงมีส่วนต่างกำไรที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังสร้างความได้เปรียบด้านประสิทธิภาพการทำงานที่พัฒนาขึ้นจากการทำงาน อีกทั้งประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นสามารถลดโอกาสการสูญเสียวัตถุดิบระหว่างการผลิต ตามแนวคิดของ Boston Consulting Group (BCG) ระบุว่า ประสบการณ์เรียนรู้ (Experience Curve) สามารถทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตจะลดลงทุกครั้งที่เพิ่มการผลิตเป็นสองเท่า
      3. การประหยัดจากขอบเขตการดำเนินงาน (Economies of Scope) สามารถสร้างประโยชน์จากกรณีที่ธุรกิจต้องการเพิ่มประเภทสินค้า (Product Lines) ที่อาจใช้กิจกรรมบางอย่างร่วมกับสินค้าที่มีอยู่เดิม เช่น ตราสินค้า วัตถุดิบ สายการผลิต การกระจายสินค้า ช่องทางจำหน่าย เป็นต้น ทั้งนี้ การพิจารณาปรับใช้ยังคงอยู่บนพื้นฐานและข้อจำกัดของต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน
      4. ความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน (Multinational Flexibility) การยอมรับในความหลากหลากหลาย และการเรียนรู้แบบเปิดกว้างมากกว่าการดำเนินงานภายในประเทศหรือภายในตลาดเดียว เนื่องจากธุรกิจข้ามชาติจะต้องปรับรูปแบบการบริหารและกลยุทธ์ที่สอดรับกับสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีความแตกต่างเฉพาะ เช่น การออกกฎหมายใหม่ การเลือกตั้งคณะรัฐบาลใหม่ การเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ และการมีคู่แข่งขันรายใหม่ในตลาด เป็นต้น

Impacts of Globalization on the World Economy 

      ผลกระทบที่สำคัญของโลกาภิวัตน์ต่อระบบเศรษฐกิจโลก คือการเพิ่มการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เช่น ความคิดเรื่องการบริหารจัดการที่ดี หรือ ธรรมาภิบาล (Good Governance) การมีความชอบธรรม ความโปร่งใส และการดูแลคนงานภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน
      สำหรับมาตรฐานที่ใช้ในการสร้างการยอมรับในประชาคมโลก คือความเป็นประชาธิปไตยทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง สำหรับประเด็นโลกาภิวัตน์ ระบบการปกครองประชาธิปไตย จึงมีฐานะไม่ต่างจากภาษาสากลที่ประชาคมโลกใช้กัน
      ปัจจุบันเราไม่ได้มองคู่ค้าเป็นศัตรูที่ต้องจำกัด แต่มองเป็นคู่แข่งที่ต้องอยู่ร่วมกัน อยู่ในกติกาเดียวกัน ร่วมมือกัน อยู่ในกติกาที่เรียกว่า ระบบเศรษฐกิจโลก (World Economy) แต่ธรรมาภิบาลเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยกลไกต่างๆ ในการสร้างให้เกิดขึ้น หลักสำคัญคือ รัฐต้องดูแลคนที่อยู่ภายใต้ปกครอง มีความรับผิดชอบ โปร่งใส และทำให้กฎเกณฑ์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ในอดีตความไว้วางใจสร้างขึ้นจากปัจจัยทางวัฒนธรรม แต่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจัยเศรษฐกิจมีบทบาทในการสร้างความไว้วางใจมากกว่าปัจจัยทางวัฒนธรรม การทำให้มีความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างคนต่างวัฒนธรรมหรือระหว่างคนแปลกหน้านั้นจะทำให้ความไว้วางใจเชิงเศรษฐกิจมีวงที่กว้างขวาง และจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีประชาธิปไตย
(รศ.ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
      ธรรมาภิบาลภายใต้โลกาภิวัตน์ ยังมีความสำคัญต่อระบบตลาด ซึ่งจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีธรรมาภิบาล ทุนนิยมต้องมีการแข่งขัน แต่ความพยายามในการสร้างกฎหมายต่างๆ ไม่สำเร็จ หากธรรมาภิบาลโดยรวมไม่เอื้อ หากยกตัวอย่างประเทศ จะเห็นว่าในเวลานี้ ธรรมาภิบาลของไทยยังไม่เอื้อให้มีการแข่งขันทางการค้าที่แท้จริง นโยบายของรัฐไทยไม่ควรจะมีนโยบายเรื่องธรรมาภิบาล แต่ควรจะมีนโยบายที่แสวงหาแหล่งที่มาของธรรมาภิบาล แล้วนำไปดำเนินนโยบายแก้ไข (รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

  ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
        ผลกระทบที่สำคัญของโลกาภิวัตน์ต่อระบบเศรษฐกิจโลก ดังนี้
      1. การปฏิรูประบบเศรษฐกิจแบบเสรี จากการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์และการเกิดโลกาภิวัตน์ ทำให้ระบบทุนนิยมโลกแผ่ขยายออกไปครอบคลุมเกือบทุกส่วนของโลก เกิดการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ การเพิ่มขึ้นของทุนระหว่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ เชื่อมโยงและพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น ประเทศต่างๆ พากันปฏิรูปเศรษฐกิจให้เสรีเพื่อเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศสังคมนิยมที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนและควบคุมที่ส่วนกลาง ได้ปฏิรูปโดยเปิดประเทศให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุน นำกลไกตลาดมาประยุกต์ใช้ เช่น จีนมีนโยบายที่ทันสมัย เวียดนามใช้นโยบายปฏิรูป (Doi Moi) ส่วนประเทศที่ใช้ระบบทุนนิยม ก็มีการปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งในด้านการค้าและการเงินโดยลดข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้เสรียิ่งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการระดมทุน การเคลื่อนย้ายทุน อันส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตและการประกอบการลดลง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      2. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ เนื่องมาจากการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายประเทศไม่มั่นใจว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะแข่งขันในระบบการค้าเสรีบางประเทศเริ่มใช้มาตรการปกป้องทางการค้า หลายประเทศพยายามหาแนวร่วมทางเศรษฐกิจ ขยายขอบเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคขึ้น เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ได้กระชับความร่วมมือจัดตั้งเป็น ตลาดเดียว ใน ค.ศ. 1999 ส่วนสหรัฐอเมริกา แคนาดา และแม็กซิโกได้ร่วมมือทางเศรษฐกิจจัดตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ(NAFTA) ในขณะที่กลุ่มประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมมือกันจัดตั้ง เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อีกทั้งยังมีการร่วมมือในย่านเอเชียแปซิฟิก(APEC) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเหล่านี้ อาจนำไปสู่ความตึงเครียดทางการค้าหรือสงครามการค้าได้ ถ้าหากผลประโยชน์ขัดกันจนไม่สามารถประนีประนอมได้ นอกเหนือจากการกลุ่มในระดับภูมิภาคแล้ว บางประเทศยังพยายามร่วมมือในระดับเล็กในลักษณะอนุภูมิภาค เช่น ความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (Indonesia Malaysia Thailand Growth Triangle : IMTGT) และความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (Quadangle Cooperative) ระหว่างไทย ลาว พม่า และจีนตอนใต้ โดยแต่ละประเทศจะอาศัยความได้เปรียบของกันและกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกกำลังนำไปสู่การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งมี 3 ขั้ว คือ ยุโรป เอเชีย และอเมริกา ระบบเศรษฐกิจโลก 3 เส้าดังกล่าวกำลังก่อตัว ซึ่งจะมีทั้งการแข่งขันและความร่วมมือ ดังจะเห็นได้จากการร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรป (Asia Europe Meeting : ASEM)
      3. เกิดระบบเสรีด้านการเงินและการค้า เป็นระบบเศรษฐกิจที่สินค้าและเงินตราต่างไหลเวียนไปทั่วโลกได้อย่างเสรี โดยความเป็นสากลของทุนและเงินตรา ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ทำให้ทุนกลายเป็นปัจจัยการผลิตที่สามารถเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปมาได้อย่างเสรี การเคลื่อนย้ายของทุนในระดับโลกจากจุดที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปยังจุดที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ก่อให้เกิดการเก็งกำไรขึ้นทั่วไปในระบบตลาดที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ผู้ที่ควบคุมทุนได้จะอยู่ในฐานะได้เปรียบโดยสิ้นเชิง เมื่อระบบเศรษฐกิจถูกรวมเข้าด้วยกัน ทุนสามารถไหลเวียนไปยังที่ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้กระจายต้นทุนออกไปสู่ภายนอกได้มากที่สุด ผลที่ตามมาคือการโอนย้ายภาระต้นทุนจากนักลงทุนระหว่างประเทศไปยังท้องถิ่นต่างๆ ในภาวะเช่นนี้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นกับประเทศที่นำทุนเข้าจากต่างประเทศได้ในระยะเวลาไม่มากนัก ไม่ว่าสมรรถภาพการบริหารเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ จะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็จะเกิดการเคลื่อนย้ายของกองทุนขนาดใหญ่อย่างรวดเร็วทั้งไหลเข้าและไหลออก
      4. ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า โดยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการผลิต โดยมีลักษณะการใช้งานเฉพาะซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นกว่า สิ้นเปลืองน้อยกว่า เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์อาจได้รับการผลิตอยู่ในหลายประเทศแล้วนำมาประกอบเป็นรถยนต์ในอีกประเทศหนึ่ง แล้วส่งขายไปทั่วโลก ซึ่งลักษณะการประกอบการอย่างนี้เป็นลักษณะของบริษัทข้ามชาติซึ่งเป็นแบบฉบับของธุรกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจการเงินหลักทรัพย์ ธนาคาร ประกันภัย ต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ด้วย การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นการผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ระบบการเงินก็จะต้องปรับมาให้บริการแบบเดียวกันด้วย กระแสเงินตราต่างๆ และธุรกรรมทางการเงินผ่านเข้าออกธนาคารตลอดเวลาในช่วงเสี้ยววินาที โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ กระแสการแข่งขันด้านการค้าและการแสวงหาตลาดซึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็วนี้ กลายเป็นธุรกิจข้ามชาติอย่างแท้จริง

  ผลกระทบด้านการเมืองโลก
        ผลกระทบที่สำคัญของโลกาภิวัตน์ต่อการเมืองโลก ดังนี้
      1. ความเป็นท้องถิ่นนิยม (Localism) โลกาภิวัตน์ สร้างความรู้สึกชาตินิยมระดับท้องถิ่น เติบโตแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม รัฐชาติแตกย่อยสลายตามชาติพันธุ์และลักษณะเฉพาะ เชื้อชาติที่มีรากฐานที่เล็กกว่าชาติ กลายเป็นกลุ่มลัทธิชาตินิยมใหม่ (Neo-Nationalism) ซึ่งได้ก่อตัวเป็นรัฐชาติที่มีรากฐานแห่งความเป็นชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่แน่นแฟ้นกลมกลืนกันยิ่งขึ้น ปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติเหล่านี้มักเชื่อมโยงกับความสำคัญของท้องถิ่น เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกยุคข่าวสาร ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นรับรู้ข้อมูลอย่างรวดเร็วได้จากสื่อมวลชน เป็นการปลูกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่น ให้รู้จักรักษาและหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตนเพิ่มมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลทำให้ทราบผลดีผลเสียที่รัฐบาลกลางดำเนินการ ยุคโลกาวิวัตน์จึงเป็นยุคแห่งการตรวจสอบ รัฐบาลกลางที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติซึ่งตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่น จึงมักถูกต่อต้านอย่างรุนแรง ถ้าหากเป็นเชื้อชาติเดียวกัน รัฐบาลที่ไม่คำนึงถึงความเดือนร้อนของประชาชนในท้องถิ่นก็ย่อมถูกต้านอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน
      2. บทบาทของสถาบันและกลุ่มทางการเมือง สถาบันทางการเมืองที่มีอยู่เดิมได้แก่ พรรคการเมือง รัฐบาล นิติบัญญัติ ตุลากร แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ได้เกิดสถาบันการเมืองใหม่เพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ กลุ่มเฉพาะกรณีเกิดขึ้นมาก เช่น กลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มองค์กรเอกชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้เป็นชัยชนะของปัจเจกชน ทำให้แต่ละกลุ่มมีความเป็นอิสระในการเรียกร้องตามความต้องการของตน มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา มีการเรียกร้องให้ปฏิรูปทางการเมืองและสังคมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองและผู้นำทางการเมืองที่มองการณ์ไกล สังคมโลกปัจจุบัน นอกจากรัฐชาติเป็นตัวแสดงที่สำคัญแล้ว ยังมีตัวแสดงอื่นๆ ที่มีบทบาทโดดเด่น เช่น องค์การระหว่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติ องค์กรเอกชน ตัวแสดงเหล่านี้จะมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์การรวมประเทศสมาชิกจากทั่วโลก ที่จะมาร่วมปรึกษาหารือรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน

  ผลกระทบด้านสังคมโลก
        ผลกระทบที่สำคัญของโลกาภิวัตน์ต่อสังคมโลก ดังนี้
      1. การครอบงำโลกทางวัฒนธรรม เนื่องจากระบบสื่อสารไร้พรมแดนทำให้เกิดการครอบงำโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรม และอำนาจของเศรษฐกิจจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศอื่นอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลก (Neo-Westernization) ครอบงำทางด้านความคิด การมองโลก การแต่งกาย การบริโภคสิ่งเหล่านี้เข้าครอบคลุมเหนือวัฒนธรรมของประชาคมทั่วโลก ทำให้เกิดระบบผูกขาดวัฒนธรรมไร้พรมแดน
      2. การเกิดหมู่บ้านโลก (Global Village) จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม ทำให้สังคมโลกไร้พรมแดน โลกทั้งโลกเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวกัน สมาชิกของหมู่บ้านคนใดทำอะไร ก็สามารถรับรู้ได้ทั่วกันทั่วโลก เมื่อมาอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน สิ่งใดที่กระทบประเทศหนึ่งก็ย่อมกระทบไปถึงประเทศอื่นๆ ไปด้วย อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก สามารถรับรู้ได้อย่างฉับพลัน
      3. การแสวงหากำไรแบบใหม่ การสื่อสารที่รวดเร็วทำให้เกิดสภาวการณ์ไร้พรมแดนของเงินตรา ซึ่งสามารถไหลไปกระจุกตัวทุกหนทุกแห่งในโลกได้ ทุกครั้งที่เกิดการไหลเข้าของทุนมหาศาลจากทั่วโลกไปกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ก็จะก่อให้เกิดการพองตัวของทุนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแสวงหากำไรแบบใหม่ขึ้น
      4. การเกิดสังคมความรู้ยุคข่าวสารข้อมูล การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ ข้อมูล โดยผ่านอีเมล์ อินเตอร์เน็ต และเวิร์ล วายด์ เวป ข่าวสารความรู้ข้อมูล จึงเข้าถึงประชาชนได้ง่ายดายและเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การกระจายความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้และเรียนรู้มากขึ้น สังคมโลกกลายเป็นสังคมความรู้ (Knowledge based society)
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------**
"Additional information"
        ⭐  Key Takeaways: Deglobalization
      การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ทั่วโลกต้องออกมาตรการปิดประเทศ ทำให้การส่งออกสินค้าที่ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญในหลายวงการทั้งภาคธุรกิจ และแวดวงวิชาการต่างมองว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะเป็นบททดสอบสำคัญต่อโลกาภิวัตน์ของระบบเศรษฐกิจโลก รวมถึง ห่วงโซ่อุปทานการผลิต (Global supply chain) ที่มีความเชื่อมโยงกันอาจพังทลายลงได้
      การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ที่เข้ามาในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แต่เป็นพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมืองที่เริ่มต้นมาระยะหนึ่ง ที่ผ่านมาโลกาภิวัตน์ทำให้ตลาดการค้าระหว่างประเทศเติบโตมาก เนื่องจากผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากการแบ่งการผลิตระหว่างประเทศ โดยสร้างระบบห่วงโซ่การผลิตที่กระจายอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพและมีส่วนช่วยในการเติบโตของธุรกิจ 
      อย่างไรก็ดี โลกาภิวัตน์ก็ให้เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยประชาชนบางส่วนมองว่าโลกาภิวัตน์มีส่วนสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำ จากการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า ซึ่งส่งผลเสียต่อแรงงานที่มีรายได้ต่ำในประเทศ ขณะที่เจ้าของกิจการและนักลงทุนกลับได้ประโยชน์จากต้นทุนการผลิตที่ถูกลง โดยเห็นได้ชัดเจนในช่วงปี ค.ศ.2018 ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศสงครามการค้ากับจีนด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าหลายระลอก จนมีส่วนทำให้เกิดการกระจายของฐานการผลิตออกจากจีนในหลายอุตสาหกรรม
      การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นการตอกย้ำถึงความเสี่ยงของการใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบที่ต้องนำเข้าจากหลายประเทศและการพึ่งพาประเทศจีนเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตสินค้าจำเป็น และอาจเป็นการเร่งการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น 
   จากรายงานของ สำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs - UN DESA) ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 ประเมินว่า ประเทศต่าง ๆ มีโอกาสลดการพึ่งพาโลกภายนอกและปรับห่วงโซ่การผลิตให้สั้นลงจากวิกฤตเชื้อไวรัส COVID-19
      เช่นเดียวกับความเห็น ของสองนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังทั้ง คาร์เมน ไรน์ฮาร์ท (Carmen Reinhart) และ เคนเนธ รอกอฟฟ์ (Kenneth Rogoff) ที่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ไม่ได้เกิดพร้อมกันในแต่ละพื้นที่ ทำให้ห่วงโซ่การผลิตกลับมาเดินเครื่องพร้อมกันได้ยาก ซึ่งกระทบต่อระบบการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี และจะส่งผลให้โลกาภิวัตน์เสื่อมถอยลง ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องลดความเสี่ยงด้วยการย้ายฐานการผลิตโดยให้ห่วงโซ่การผลิตสั้นลง ลดการพึ่งพาในระยะไกล หันมาพึ่งพาระยะใกล้ในภูมิภาคแทน (Regionalization) และบางส่วนอาจเข้าสู่การปกป้องอุตสาหกรรมตัวเองในลักษณะพี่งพาตัวเองมากขึ้น (Localization) ทั้งการผลิตสินค้าขึ้นเอง รวมถึงเน้นตอบสนองความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก
      ในช่วงที่ผ่านมาภาคธุรกิจของทั้ง ไต้หวัน และญี่ปุ่น จำนวนกว่า 500 บริษัท (ข้อมูลจาก Taipei Times) และเกือบ 1,000 บริษัท (ข้อมูลจาก Tokyo Shoko Research) ตามลำดับ มีแผนที่จะกระจายกำลังการผลิตออกจากจีน หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยจะคงไว้เฉพาะโรงงานที่ผลิตสินค้าสำหรับความต้องการในจีนเท่านั้น ขณะที่ฐานการผลิตอื่น ๆ จะกระจายออกมานอกจีนมากขึ้น เช่น อินเดีย และอาเซียน ขณะที่ส่วนหนึ่งจะกลับมาลงทุนที่ประเทศตัวเอง นอกจากนี้ ภาครัฐมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายกีดกันทางการค้า และการปกป้องธุรกิจในประเทศที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความเสี่ยงต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน เช่น ด้านสุขภาพและอาหาร หลายประเทศหันมาใช้นโยบายห้ามการส่งออกหรือมีมาตรการควบคุมต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน แม้การดำเนินนโยบายนี้จะกระทบต่อพันธมิตรหรือประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม
      ไม่ว่าท้ายที่สุดแล้ว การทวนกระแสโลกาภิวัตน์จะมีความเข้มข้นเพียงใด การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ถือว่าเป็นสิ่งท้าทายต่อเศรษฐกิจไทยในการจัดสรรทรัพยากรใหม่ให้สามารถปรับตัวได้ทันท่วงที ทั้งปัจจัยด้านเงินทุน แรงงาน และเครื่องจักร เพราะหากปรับตัวได้ช้าก็ยิ่งมีต้นทุนสูง และส่งผลต่อความสามารถการแข่งขันในระยะยาว รวมถึงเป็นโอกาสด้วยเช่นกันในการทบทวนทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่จำเป็นต้องกระจายการผลิตด้วยการไม่พึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งมากจนเกินไป โดยหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มการกระจายรายได้ให้กับแรงงานไทยเช่นกัน
**-------------------------------------------------------------------------------------------------------------**

 //-----//

Further Reading:

- Coursesidekick, The International Business Environment. Retrieved May 5, 2023, from https://www.coursesidekick.com/finance/study-guides/boundless-finance/the-international-business-environment

David Conklin, 2011, The global environment of business: New paradigms for international management. Retrieved May 5, 2023, from https://iveybusinessjournal.com/publication/the-global-environment-of-business-new-paradigms-for-international-management/

- University of Minnesota Libraries, 2016, Exploring Business. Retrieved May 5, 2023, from https://open.lib.umn.edu/exploringbusiness/chapter/3-3-the-global-business-environment/

- https://unctad.org/news/global-trade-hits-record-high-285-trillion-2021-likely-be-subdued-2022

- https://pressbooks.pub/internationalbusiness/chapter/chapter-9-strategy-in-international-business/

- https://www.investopedia.com/terms/e/economiesofscale.asp

- https://www.investopedia.com/ask/answers/042215/what-difference-between-economies-scope-and-economies-scale.asp

- Baanjomyut.com. "วิวัฒนาการและโลกทัศน์ของแนวคิดยุคใหม่"

- Education.nationalgeographic.org. "Effects of Economic Globalization" https://education.nationalgeographic.org/resource/effects-economic-globalization

- Ftawatch.org. "เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์"

- Investopedia.com. "How Globalization Affects Developed Countries" https://www.investopedia.com/articles/economics/10/globalization-developed-countries.asp

- Ramkhamhaengtest-inb.blogspot.com. "ธุรกิจระหว่างประเทศ" http://ramkhamhaengtest-inb.blogspot.com/2014/01/inb3101-ib203-r153.html

- Thebalance.com. "Effects of Globalization How It Impacts Society and the Economy" https://www.thebalance.com/globalization-and-its-impact-on-economic-growth-1978843

- ธนันธร มหาพรประจักษ์. "​อนาคตของกระแสโลกาภิวัตน์: ความท้าทายจากไวรัสโควิด-19"

- Patricia Hines. "Globalisation: External Forces Driving Corporate Growth and Expansion"

- Worldbank.org. "World Bank Group Responds to Overlapping Crises with Nearly $115 Billion in Financing in Fiscal Year 2022" https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2022/07/14/world-bank-group-responds-to-overlapping-crises-with-nearly-115-billion-in-financing-in-fiscal-year-2022




Post a Comment

0Comments

Post a Comment (0)